ผลงานรายวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
วันพฤหัสบดีที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558
วันจันทร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
มาตราส่วน และ อัตราส่วน
อัตราส่วน
อัตราส่วน
คือ
ปริมาณอย่างหนึ่งที่แสดงถึงจำนวนหรือขนาดตามสัดส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับอีกปริมาณหนึ่งที่เกี่ยวข้องกัน
อัตราส่วนจะเป็นปริมาณที่ไม่มีหน่วย
หากอัตราส่วนนั้นเกี่ยวข้องกับปริมาณที่อยู่ในมิติเดียวกัน
และเมื่อปริมาณสองอย่างที่เปรียบเทียบกันเป็นคนละชนิดกัน
หน่วยของอัตราส่วนจะเป็นหน่วยแรก "ต่อ" หน่วยที่สอง ตัวอย่างเช่น ความเร็วสามารถแสดงได้ในหน่วย
"กิโลเมตรต่อชั่วโมง" เป็นต้น ถ้าหน่วยที่สองเป็นหน่วยวัดเวลา
เราจะเรียกอัตราส่วนชนิดนี้ว่า อัตรา
อัตราส่วนของปริมาณ a ต่อปริมาณ
b เขียนแทนด้วย a : b เรียก a ว่า จำนวนแรก หรือจำนวนที่หนึ่งของอัตราส่วน และเรียก b ว่า จำนวนหลัง หรือจำนวนที่สองของอัตราส่วน อัตราส่วน a ต่อ b
จะพิจารณาเฉพาะในกรณีที่ a และ b เป็นจำนวนบวกเท่านั้น
อัตราส่วนเพื่อแสดงการเปรียบเทียบระยะทางในแผนที่หรือแผนผังกับระยะทางจริง
ซึ่งอาจแสดงการเปรียบเทียบในหน่วยเดียวกันหรือหน่วยต่างกัน เรียกว่า “มาตราส่วน”
มาตราส่วน
เมื่อต้องการเขียนภาพสิ่งใด
ในบางครั้งไม่อาจเขียนให้เท่ากับขนาดเดิมได้ ดังนั้นจำเป็นต้องย่อส่วนของสิ่งของที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็ก
หรือขยายส่วนของสิ่งของที่มีขนาดเล็กให้มีขนาดใหญ่ มาตราส่วน จึงหมายถึง
สัดส่วนที่ใช้ย่อส่วน หรือ ขยายส่วน เราจะใช้ ”มาตราส่วน” เพื่อเปรียบเทียบขนาดและปริมาณของสิ่งของเช่นเดียวกับ
“อัตราส่วน” นั่นเอง มาตราส่วนที่ใช้ย่อหรือขยายขนาดของสิ่งของ
ถ้าเป็นหน่วยเดียวกันไม่ต้องเขียนหน่วยกำกับไว้
แต่ถ้าเป็นคนละหน่วยกันต้องเขียนหน่วยกำกับไว้ด้วย มาตราส่วน แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
1.
มาตราส่วนย่อ เช่น 1: 10 อ่านว่า หนึ่งต่อสิบ หมายถึง ของจริง 10 ส่วน
เขียนลงในกระดาษเขียน แบบ 1 ส่วน
2.
มาตราส่วนขยาย เช่น 10: 1 อ่านว่า สิบต่อหนึ่ง หมายถึง ของจริง 1 ส่วน
เขียนลงในกระดาษเขียนแบบ 10 ส่วน
3.
มาตราส่วนเท่าของจริง เช่น 1: 1 อ่านว่า หนึ่งต่อหนึ่ง หมายถึง ของจริง 1
ส่วน เขียนลงในกระดาษเขียนแบบ 1 ส่วน
มาตราส่วนแผนที่ หมายถึง
อัตราส่วนระหว่างระยะบนแผนที่กับระยะห่างในภูมิประเทศจริง หรือ คือความสัมพันธ์ระหว่างระยะทางราบบนแผนที่กับระยะทางราบในภูมิประเทศจริง
ซึ่งเป็นข้อมูลที่บอกให้ผู้ใช้แผนที่ทราบว่า แผนที่นั้นๆ ย่อส่วนมาจากของจริงในอัตราส่วนเท่าใด เช่น ระยะห่างจริงในภูมิประเทศ 1 กิโลเมตร เมื่อเขียนลงแผนที่อาจจะเขียนย่อส่วนลงจาก 1
กิโลเมตร เป็น 1 เซนติเมตร หรือ 1 นิ้ว เป็นต้น การบอกมาตราส่วนแผนที่ บอกเป็นชนิดต่างๆ ได้ 3 ชนิด คือ
1. มาตราส่วนส่วนเศษส่วน
เป็นการบอกมาตราส่วนที่สำคัญมากที่สุดและนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง คือ
การบอกมาตราส่วนแบบเศษส่วน เขียนในลักษณะ 1:50,000 หรือ 1/50,000 หมายความว่า 1 เซนติเมตร
ในแผนที่เท่ากับระยะจริงบนพื้นผิวภูมิประเทศ 50,000 เซนติเมตร หรือ 500 เมตร
หรือระยะทาง 1 นิ้ว ในแผนที่เท่ากับระยะจริงในภูมิประเทศ 50,000 นิ้ว เป็นต้น
2.
มาตราส่วนคำพูด
มาตราส่วนแผนที่อาจบอกเป็นคำพูดธรรมดาก็ได้ เช่น มาตรส่วน 1 นิ้ว ต่อ 10 ไมล์ หมายความว่า
ระยะทางแผนที่ 1 นิ้ว เท่ากับระยะทางในภูมิประเทศ 10 ไมล์ 1 เซนติเมตร ต่อ 10
กิโลเมตร หมายถึง 1 เซนติเมตรในแผนที่เท่ากับ 10 กิโลเมตรในภูมิประเทศจริง เป็นต้น การบอกมาตราส่วนแบบนี้
แม้ว่าจะสะดวกเวลาอ่าน แต่ก็ไม่สะดวกในเวลาปรับใช้กับการคำนวณ และไม่สะดวก
สำหรับประเทศต่างๆ ที่มีหน่วยวัดระยะทางไม่เท่ากัน
3.
มาตราส่วนรูปภาพหรือมาตราส่วนเส้นบรรทัด
มาตราส่วนแบบนี้แสดงเป็นเส้นตรง เส้นที่แสดงนั้นแบ่งส่วนๆ ส่วนละเท่าๆกัน
แต่ละส่วนจะมีตัวเลขกำกับไว้
เพื่อบอกให้ทราบว่าระยะแต่ละส่วนในแผนที่นั้นแทนระยะทางในภูมิประเทศเท่าไร
หน่วยที่ใช้บอกระยะในมาตราส่วนแบบเส้นบรรทัดอาจใช้ ในหน่วย หลา เมตร ไมล์
และไมล์ทะเล หรือ อาจบอกทั้ง 4 หน่วยในแผนที่ฉบับเดียวกันก็ได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)